บทอาขยานคือ บทท่องจำ การเล่า การสวด เรื่อง นิทาน ซึ่งเป็นการท่องจำข้อความหรือคำประพันธ์ที่ชอบ บทร้องกรองที่ไพเราะ โดยอาจตัดตอนมาจากหนังสือวรรณคดีเพื่อให้ผู้ท่องจำได้ และเห็นความงามของบทร้อยกรอง อ่านต่อ
วันอังคารที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2560
วันอาทิตย์ที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2560
หน่วยการเรียนรู้ที่๘ มหาชาติหรือมหาเวสสันดรชาดก
มหาชาติ
เป็นชาติที่ยิ่งใหญ่ของพระโพธิสัตว์ที่ได้เสวยพระชาติเป็นพระเวสสันดรและเป็นพระชาติสุดท้ายก่อนจะตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
คนไทยรู้จักและคุ้ยเคยกับมหาชาติมาตั้งแต่สมัยสุโขทัย
ดังที่ปรากฏในหลักฐานในจารึกนครชุม
และในสมัยอยุธยาก็ได้มีการแต่งและสวดมหาชาติคำหลวงในวันธรรมสวนะอ่านต่อ
หน่วยการเรียนรู้ที่๗ มงคลสูตรคำฉันท์
มงคลสูตรคำฉันท์ เป็นวรรณคดี คำสอน ผลงานพระราชนิพนธ์ของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวที่ทรงนำหลักธรรม
ที่เป็นพระคาถาบาลีจากพระไตรปิฏกตั้งแล้วแปลถอดความเป็นคำประพันธ์ที่
ไพเราะ มีความงดงามทั้งด้านเสียงและความหมาย สามารถจดจำได้ง่ายอ่านต่อ
หน่วยการเรียนรู้ที่๖ ทุกข์ของชาวนาในบทกวี
บทความเรื่อง ทุกข์ของชาวนาในบทกวี
มีที่มาจากหนังสือรวบรวมบทพระราชนิพนธ์ในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ
สยามบรมราชกุมารี เรื่อง มณีพลอยร้อยแสง ซึ่งทรงพระกรุณาโปรดฯให้จัดพิมพ์ขึ้นเมื่อ
พ.ศ. 2533 ในวโรกาสที่พระองค์ทรงเจริญพระชนมายุครบ 3 รอบอ่านต่อ
หน่วยการเรียนรู้ที่๕ หัวใจชายหนุ่ม
หัวใจชายหนุ่ม
เป็นบทพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยทรงใช้พระนามแฝงว่า “รามจิตติ” เพื่อพระราชทานลงพิมพ์ในหนังสือพิมพ์
“ ดุสิตสมิต” เมื่อ พ.ศ.๒๔๖๔ ลักษณะการพระราชนิพนธ์เป็นรูปแบบของจดหมาย
มีจำนวน ๑๘ ฉบับ รวมระยะเวลาที่ปรากฏตามจดหมายทั้งหมด ๑ ปี ๗ เดือน อ่านต่อ
หน่วยการเรียนรู้ที่๔ นิราศนรินทร์คำโคลง
นิราศนรินทน์คำโคลงมีลักษณะเป็นนิราศแท้
คือมีเนื้อหาสำคัญอยู่ที่การคร่ำครวญถึงนางอันเป็นที่รักที่กวีจากมา
ส่วนรายละเอียดอื่นๆ
เป็นเพียงส่วนประกอบเท่านั้นเป็นที่ยอมรับทั่วไปว่านิราศนรินทน์คำโคลงเป็นนิราศที่มีความไพเราะที่สุดเรื่องหนึ่งของไทย อ่านต่อ
หน่วยการเรียนรู้ที่๓ นิทานเวตาลเรื่องที่ ๑๐
นิทานเวตาล ฉบับนิพนธ์
พระราชวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยาลงกรณ มีที่มาจากวรรณกรรมสันสกฤตของอินเดีย โดยมีชื่อเดิมว่า “เวตาลปัญจวิงศติ” ศิวทาสได้แต่งไว้ในสมัยโบราณ ต่อมาได้มีผู้นำนิทานเวตาลทั้งฉบับภาษาสันสกฤตและภาษาฮินดีมาแปลเป็นภาษาอังกฤษ
โดยร้อยเอก เซอร์ ริชาร์ด เอฟ. เบอร์ตัน
ก็ได้นำมาแปลและเรียบเรียงแต่งแปลงเป็นสำนวนภาษาของตนเองให้คนอังกฤษอ่าน
แต่ไม่ครบทั้ง 25 เรื่องอ่านต่อ
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)